การศึกษาไทยและการพัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืน

ปวิณา วัฒนาภา (เต๋อ) บัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม เต๋อสนใจในเรื่องการพัฒนามนุษย์มาโดยตลอด เต๋อเลยเลือกเดินบนเส้นทางการเปลี่ยนแปลงเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจการศึกษาในเชิงลึก ก่อนที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนามนุษย์ในวงกว้างขึ้นในสายงานปัจจุบัน

ปวิณา วัฒนาภา (เต๋อ) บัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม เต๋อสนใจในเรื่องการพัฒนามนุษย์มาโดยตลอด เต๋อเลยเลือกเดินบนเส้นทางการเปลี่ยนแปลงเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจการศึกษาในเชิงลึก ก่อนที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนามนุษย์ในวงกว้างขึ้นในสายงานปัจจุบัน

“ความเชื่อในการพัฒนามนุษย์ สู่บทบาทครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง”

      ถ้าหากพูดถึงจุดเริ่มต้นของการเป็น ‘ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง’ คงต้องย้อนกลับไปที่ว่า เต๋อเชื่อมั่นในเรื่องการศึกษา ถึงแม้ว่าเต๋อจะมาจากพื้นฐานเด็กที่ชอบการศึกษาอยู่แล้ว แต่เต๋อยังมองว่า “เราเชื่อว่าการศึกษาเป็นเรื่องของทุกคน แม้แต่คนที่ไม่ชอบเรียน เขาก็ควรที่จะสามารถมีความสุขกับการศึกษาได้” ซึ่งทำให้เต๋อมองสายงานในอนาคตที่จะได้พัฒนามนุษย์อยู่เสมอ ด้วยความสนใจนี้ ในช่วงทำโปรเจคจบในหัวข้อ Gamification หรือ การนำเกมส์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ สิ่งนี้ทำให้เต๋อตระหนักได้ว่า การศึกษาและการเรียนรู้เป็นเรื่องที่ลื่นไหล และทำให้เต๋อมองเห็นภาพการศึกษาในด้านการพัฒนาเยาวชนที่ชัดเจนขึ้น เมื่อเต๋อจบจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ เต๋อมองว่าโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ มูลนิธิ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ จะสามารถทำให้เต๋อได้ลงไปเห็นและสัมผัสภาพการศึกษาจริง ๆ มากไปกว่านั้น เต๋อมองว่าการทำงานที่นี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนสายงานพัฒนามนุษย์ เต๋อจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการนี้

“ภาพการศึกษาเส้นตรงที่เปลี่ยนแปลงไป”

     ในตอนแรกเรามีความเชื่อว่าการศึกษาเป็นเรื่องของเด็ก มันควรจะเป็น Learner Center ที่เอื้อต่อความต้องการของนักเรียนเป็นหลัก นักเรียนควรที่จะได้พัฒนาตัวเองในสิ่งที่ชอบและอยากที่จะเป็น ซึ่งการเข้าไปสอนในโรงเรียนมันได้ตอกย้ำความคิดเหล่านั้น แต่มุมมองที่ได้เพิ่มเข้ามาคือ “การศึกษาเป็นเรื่องที่กลม” ก่อนหน้านี้เรามองเป็นเส้นตรง เรามองในมุมของการพัฒนานักเรียน แต่จริง ๆ แล้ว เรื่องการศึกษามันมีหลายปัจจัยมากกว่านั้น เราเข้าไปเจอว่าคุณครูเองก็ไม่ได้มีความสุขจากการสอน เพราะเจอปัญหาเชิงระบบที่กดทับอยู่ หรือผู้ปกครองเองก็มีปัญหาเรื่องปากท้อง เครียด เลยอาจทำให้ไม่มีเวลาได้ดูแลลูกหลาน รวมถึงบริบทโดยรอบโรงเรียน ที่ถึงแม้ว่าจะมีปฎิสัมพันธ์กันบ้าง แต่ก็ยังไม่ได้ถูกดึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนานักเรียนขนาดนั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันตอกย้ำอีกครั้งเมื่อเราเริ่มทำกิจกรรมนอกห้องเรียน นอกเหนือจากการดึงนักเรียนเข้ามาแล้ว การดึงผู้ปกครอง ผอ. ครูประจำชั้น เพื่อนครูทีชฯ มันทำให้ทุกคนเห็นถึงความเชื่อ และความเป็นไปได้ว่า พวกเขาเหล่านี้สามารถช่วยกันส่งเสริมนักเรียนกลุ่มนี้ได้ แล้วภาพนั้นจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ได้เริ่มและจบที่ตัวเราอย่างเดียว

“การจัดลำดับความสำคัญ และ Backward Planning ทักษะสำคัญจากประสบการณ์ 2 ปี”

     ถ้าหากพูดถึงทักษะที่ได้พัฒนา คงต้องย้อนกลับไปที่ตัวเราที่เป็นคนชอบทำอะไรหลาย ๆ อย่าง ตั้งแต่เด็กครูบอกให้ทำอะไรก็ทำ ทำทุกอย่าง อะไรที่ทำให้ครบได้ เราก็ทำ อะไรที่ทำให้ใหญ่ได้ เราก็ทำ เราแทบไม่เคยปฎิเสธทุก ๆ โอกาสที่เข้ามา แต่ในบทบาทที่เราต้องพัฒนานักเรียน เราพบว่ามันมีหลายล้านสิ่งที่ต้องทำ การจัดลำดับความสำคัญจึงเป็นสิ่งที่เราได้พัฒนาอย่างมาก ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์สอนเราว่า เรามีเวลาแค่  2 ปี การเลือกทำบางสิ่งแล้วทำให้เกิด impact มันอาจจะดีกว่าการที่ทำทุกอย่าง เราต้อง work smart มากกว่า work hard 

     อีกหนึ่งทักษะที่มักจะถูกพูดถึงตั้งแต่ช่วงอบรมคือ “Backward Planning” หรือการที่เราตั้งเป้าหมายให้ชัด แล้วย้อนกลับมาหาวิธี เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายนั้น ซึ่งทักษะนี้ทำให้เราสามารถมองย้อนกลับมาวางแผนและจัดลำดับความสำคัญได้ค่อนข้างเยอะ รวมถึงทำให้เรารู้ว่าเราต้องโฟกัสอะไรเป็นหลัก ซึ่งทักษะเหล่านี้ที่เราได้เรียนรู้ในช่วงวันแรก ๆ ตั้งแต่เข้าโครงการ แต่สิ่งที่สำคัญกว่า คือการที่เราได้ฝึกฝนและได้ลงมือทำในบริบทจริง สิ่งเหล่านั้นทำให้เราได้พัฒนาขึ้นจริง ๆ

    มากไปกว่านั้น ‘การวางแผน’ นับเป็นอีกทักษะที่เราได้พัฒนาใน 2 ปีนี้อย่างชัดเจน เพราะในการทำงานทุก ๆ วัน เราต้องอาศัยการวางแผนอย่างมาก ในช่วงแรกเราวางแผนการสอนวันต่อวัน จนพอเราสอนไปสักระยะ เราอยากให้นักเรียนเขาได้รับการเรียนเต็มที่ เราจึงใช้เวลาในการวางแผน วางระบบ ออกแบบกิจกรรม การเรียนรู้ จนทุกวันนี้แผนที่วางไว้ก็ยังใช้อยู่  

    หลังจบ 2 ปี อีกหนึ่งบทบาทที่ติดมากับตัวเรา คือการเป็น ‘นักสู้’ เรารู้สึกไม่กลัวสิ่งที่มันจะเกิดขึ้น เราไม่กังวลที่จะเจอสิ่งใหม่ ๆ ไปอยู่ในที่ใหม่ ๆ หรือทำความรู้จักคนใหม่ ๆ มันกลายเป็นส่วนนึงของชีวิตเราไปแล้ว จนวันที่เราได้ไปเรียนต่อ เรากลายเป็นคนที่ไม่กลัวอะไร รู้สึกสนุกกับความท้าทายที่จะเจอสิ่งใหม่ ๆ ไปแล้ว

 

“ภาพสำเร็จในวันที่ก้าวขาออกจากโรงเรียน - การรื้อความหวังของโรงเรียน”

      ในวันที่เราออกมา ภาพที่เราภูมิใจอย่างนึงก็คือ การที่เด็ก ๆ กล้าที่จะบอกว่า “อยากเรียนให้จบ อยากแก้ 0 อยากพูดภาษาอังกฤษให้ได้” ซึ่งก่อนหน้านี้ เด็ก ๆ กลุ่มนี้ มักพูดว่า ไม่ต้องเรียนต่อให้ที่บ้านเลี้ยงก็ได้ ทำงานที่บ้านก็ได้ หรือสิ้นหวังกับการศึกษา”  เราเห็นความหวังในตัวพวกเขามาเสมอ และที่สำคัญคือ สุดท้ายแล้ว พวกเขาเองก็ยังมีความหวังกับการศึกษา การที่พวกเขาได้เห็นว่ามีคนแคร์เขา และพร้อมส่งเสริมเขา มันนับเป็นการรื้อความหวังจากตัวนักเรียนให้กลับมาอีกครั้ง ซึ่งเราดีใจที่ได้เป็นส่วนเล็ก ๆ ในการส่งเสริมและรื้อฟื้นความหวังของพวกเขากลับมา

     ขยายภาพออกจากตัวนักเรียน อีกภาพสำเร็จที่เราดีใจทีได้เห็นมันก็คือ การที่เราสามารถรื้อความหวังของคุณครูในโรงเรียนได้ ตอนเราเข้าไป เราพบความสิ้นหวังทั้งกับงานที่พวกเขาทำ ตัวระบบโครงสร้าง หรือ แม้กระทั่งกับตัวนักเรียน  การที่เราได้เข้าไปทำงานกับโรงเรียนมันทำให้พวกเขาเหล่านั้นเห็นว่ายังมีคนอีกหลายกลุ่มที่พร้อมทำงานร่วมกับพวกเขา การที่เราและเขาร่วมกันส่งเสริมนักเรียนไปแข่ง การดึงผู้ปกครองมาเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมบุตรหลานของเขา หรือแม้กระทั่งการดึงหน่วยงานภายนอกที่พร้อมเข้ามาสนับสนุนและขับเคลื่อนการศึกษาไปพร้อมกับพวกเขาเช่นกัน สิ่งเหล่านี้ทำให้เขารู้ว่าเขาไม่ได้ทำมันโดยลำพัง

“จากการพัฒนานักเรียน สู่บทบาทนักพัฒนามนุษย์เพื่อความยั่งยืน”

     ปัจจุบันเต๋อทำงานกับ Unicef โดยดูแลด้าน Engaging  และ Empowering  อาสาสมัครเพื่อให้พวกเชาลงไปทำงานกับชุมชนหรือพื้นที่ของเขาเพื่อพัฒนาและสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับชุมชนอย่างยั่งยืน ย้อนกลับไปว่า ทำไมเต๋อถึงเลือกทำงานที่นี้ เพราะเต๋อมองว่าวิสัยทัศน์ของ Unicef ยังมุ่งเน้นการพัฒนามนุษย์ซึ่งตอนทำงานกับทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ มันคือการพัฒนานักเรียน และในบทบาทตรงนี้มันก็ยังเป็นการพัฒนาคนเหมือนกัน แค่มีกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น มันคือการดึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ เพื่อมุ่งพัฒนาให้การศึกษาเป็นเรื่องของทุกคน ซึ่งประสบการณ์เชิงลึกของโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง และประสบการณ์ปัจจุบันทำให้เราเห็นในมุมที่กว้างขึ้น  ทำให้เราเห็นมุมมองที่รอบด้านและสามารถนำไปออกแบบนโยบายได้ต่อไปในอนาคต อีกมุมที่ทำให้เราเลือกที่จะทำงานที่นี้ คือการเติบโตของตัวเอง การทำงานที่นี้น่าจะทำให้เราได้พัฒนาทักษะต่าง ๆ ทั้งต่อยอดจากประสบการณ์ 2 ปี และ ได้พัฒนาทักษะใหม่ ๆ เช่นกัน 

     ภาพสุดท้ายที่เราเห็นในอนาคตของตนเอง คือ เราอยากเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเรามองว่าทั้งมูลนิธิ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ หรือ  Unicef เอง มีเครือข่ายและพันธมิตร  ที่มาร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงกันได้ เราอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สิ่งต่าง ๆ มันเกิดขึ้นได้จริง  เราอยากดึงทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้อง หรือมีความสามารถ มาเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายแล้วขับเคลื่อนให้การศึกษาและการพัฒนามนุษย์สามารถเป็นเรื่องของทุกคนได้จริง ๆ และยั่งยืน

““โครงการที่เหมาะกับคนมีอุดมการณ์และความเป็นจริง ”

     โครงการนี้เป็นพื้นที่ที่เหมาะกับคนที่มีอุดมการณ์ (Ideal) ในการอยากพัฒนาการศึกษาไทย และมีวิธีการที่อยากลงมือทำในบริบทจริง (Reality) เพราะโครงการนี้คือพื้นที่ที่จะเอื้อให้คุณได้ลงมือทำให้สิ่งที่คุณอยากทำเกิดขึ้นจริง

     สุดท้ายนี้อยากบอกน้อง ๆ ในฐานะศิษย์เก่า, TFT Alumni Board และคน ๆ นึงที่อินกับเรื่องการพัฒนามนุษย์ว่า ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าโครงการ อยากให้ทุกคนตอบตัวเองให้ได้ว่า คุณกำลังให้อะไรกับตัวเอง และการศึกษาไทยผ่านการเดินทางในเส้นทางการเปลี่ยนแปลงนี้ และจงมองภาพความเป็นจริง อย่ามองการศึกษาด้วยอุดมคติของตัวเอง แต่จงมองมันด้วยความจริง ว่าพวกเขากำลังประสบกับปัญหาอะไร พวกเขาต้องการอะไร และเราสามารถเป็นส่วนหนึ่งกับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้อย่างไร

     ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับการเปลี่ยนแปลงอนาคตการศึกษาไทยนักเรียนไทยนับร้อยและตัวคุณ ใน ‘โครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง’ เป็นระยะเวลา 2 ปี ผ่านการสอน และการทำงานร่วมกับเครือข่าย โรงเรียน ชุมชน และผู้ปกครอง 

สมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ที่…https://tft-fellowship.org