เรื่องเล่าจากศิษย์เก่า
March 24, 2024

7 ปี กับการเป็นกำลังหลักของ Teach For Thailand

“ครูเขาไม่ได้เดินเข้ามาสอนแล้วออกไป แต่เป็นครูในทุก ๆ สถานที่ ทุกช่วงเวลาของชีวิต“ ‘บีท’ — นรากร แก้วมณี สะท้อนถึงประสบการณ์ 2 ปีเต็มที่ได้เรียนกับ ‘ครูแข’ ภรปภัช พิศาลเตชะกุล และ ‘ครูกอล์ฟ’ ศุภเกียรติ คุ้มหอยกัน ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 1 ที่โรงเรียนวัดสังฆราชา ซึ่งขณะนั้นบีทเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

7 ปี กับการเป็นกำลังหลักของ Teach For Thailand

เพราะความสนใจส่วนตัวทางด้านสิทธิมนุษยชน เอ็มจึงมักหาโอกาสในการทำงานเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวตั้งแต่สมัยที่เขาศึกษาอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

“ผมทำกิจกรรมค่ายอาสา และงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการไปเรียนรู้ชีวิตคนหลากหลายระดับ ทำให้เข้าใจความเหลื่อมล้ำระหว่างเด็กบนดอยห่างไกลกับคนในเมือง”

ความเชื่อของเอ็มถูกท้าทายเมื่อเขาได้พบกับทีมงานของมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ที่เดินทางไปแนะนำโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มหาวิทยาลัย ทำให้เห็นว่ามีเด็กอีกหลายกลุ่มนอกเหนือจากเด็กบนดอยที่ประสบความเหลื่อมล้ำ เช่น เด็กในสลัม

“มันจะมีสักกี่คนที่จะมองเห็นภาพตรงนี้? ตอนนั้นผมคิดว่า จะลงทุนเวลา 2 ปี เข้าไปเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด แล้วหวังว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเหลือประเทศได้” เอ็มเล่าถึงวันที่ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ ในฐานะครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่น 3 เอ็มได้ใช้ทักษะและความรู้ ทั้งในฐานะนักรัฐศาสตร์และในฐานะครูผู้นำฯ ถ่ายทอดวิชาที่สอนอย่างเต็มที่ ทำให้นักเรียนที่โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์ชอบเอ็มมาก

แต่ปัญหาก็เกิดขึ้น เมื่อความชอบนี้กลับทำให้นักเรียนบาดหมางกับที่บ้าน

“เขาบอกว่าอยู่กับครูมันดีจังเลย ครูมีเหตุผล ครูฟังเราทุกอย่าง แต่พออยู่ที่บ้านแล้วไม่มีคนแบบนั้นอยู่ในครอบครัว เขาอยากจะหนีออกจากบ้าน เขาอยากจะเรียนให้ไกลที่สุด แล้วทิ้งครอบครัวไป”

นี่คือจุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิตการเป็นครูผู้นำฯ ของเขา “เราไม่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว เพราะนักเรียนจะทิ้งทุกอย่างแล้วหนีไป ซึ่งเราไม่ต้องการให้เกิดผลเสียระยะยาวแบบนี้”

แม้ว่านักเรียนและคนรอบตัวจะถอดใจไปแล้ว แต่ด้วยความมุ่งมั่นเกินร้อย เอ็มจึงตั้งเป้าหมายที่จะเปลี่ยนแปลงทั้งนักเรียน และผู้ปกครองด้วย

ภารกิจของเอ็มเริ่มต้นที่นักเรียน นอกจากความใส่ใจแล้ว เอ็มยังตั้งใจให้บทสนทนาในชีวิตประจำวันของเขากับนักเรียนเต็มไปด้วยการเรียนรู้ เอ็มมักถามนักเรียนที่มาปรึกษาปัญหาว่า รู้สึกอย่างไร ทำไมจึงทำพฤติกรรมนั้น และต้องแก้ปัญหาอย่างไร

“ณ วินาทีนั้นคุณเป็นครูให้นักเรียนได้ถูกจุดหรือเปล่า ถ้าทำได้ คุณก็เป็นครูที่เปลี่ยนแปลงนักเรียนได้”

ถัดจากนักเรียนคือครอบครัว เอ็มจึงออกเยี่ยมบ้านและผู้ปกครอง ซึ่งเอ็มทุ่มเทเวลาให้กับขั้นตอนนี้มาก “ผมก็ไปกับเตย (เพื่อนครูผู้นำฯ) สองทุ่ม สามทุ่มก็ไปกันสองคน ไปเยี่ยมบ้านเด็ก ไปคุยกับผู้ปกครอง”

เวลาผ่านไป 2 ปี เอ็มได้สร้างห้องเรียนที่ให้แรงบันดาลใจและปลดล็อคศักยภาพนักเรียน ผ่านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนอย่างแท้จริง

“พ่อแม่ที่เคยไม่มีเวลาให้ลูก ก็เริ่มคุยกับลูกและกับครู ส่วนชุมชนก็เริ่มเชื่อในศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงได้ของนักเรียน”

เมื่อมองย้อนกลับไป เอ็มไม่เคยเสียใจที่เข้าร่วมโครงการครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง

“ประสบการณ์ 2 ปีทำให้ผมเติบโต การได้ลองทำ ล้มเหลว แล้วลุกขึ้นมาใหม่ จนสุดท้ายสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้มันเติมเต็มมาก ๆ” เอ็มเล่าด้วยความภาคภูมิใจ

เมื่อมองย้อนกลับไป เอ็มไม่เคยเสียใจที่เข้าร่วมโครงการครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง

“ประสบการณ์ 2 ปีทำให้ผมเติบโต การได้ลองทำ ล้มเหลว แล้วลุกขึ้นมาใหม่ จนสุดท้ายสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้มันเติมเต็มมาก ๆ” เอ็มเล่าด้วยความภาคภูมิใจ

“‘ที่สำคัญ การเป็นครูและการเรียนรู้ชีวิตนักเรียนทำให้รู้ว่า การจะช่วยให้เด็กคนหนึ่งเติบโตมาอย่างมีคุณภาพต้องใช้เวลาและความทุ่มเทมากแค่ไหน ผมคงไม่เข้าใจถ้าไม่ได้ลองไปพูดคุยกับพวกเขาด้วยตัวเอง”

แม้จะออกจากโรงเรียนมาได้ 5 ปีแล้ว แต่เอ็มยังคงติดต่อและติดตามพัฒนาการของนักเรียน

“มีนักเรียนคนหนึ่งที่ผมไปเจอตอน ม.3 เทอมสุดท้ายที่ไม่เปิดใจกับการเรียนและคนที่โรงเรียนนัก ผมคุยกับเขาจนเขารู้สึกสบายใจและเริ่มแลกเปลี่ยนการเรียนรู้กัน ไม่นานมานี้เขาก็ทักมาบอกว่าเขาเรียนจบแล้ว ได้รับวุฒิ และได้งานแล้ว”

“นักเรียนเล่าว่า ‘ถ้าไม่เรียนนี่เสียดายเวลาแย่เลยครับ ผมไม่เคยลืมครูเลย ขอบคุณทุกคำพูดของครูนะครับ’” เอ็มเล่าพร้อมโชว์หลักฐาน

แต่ใช่ว่านักเรียนของเอ็มทุกคนจะประสบความสำเร็จดังตั้งใจ

“มีนักเรียนอีกหลายคนที่ยังไม่ประสบความสำเร็จดังตั้งใจ ซึ่งมีหลายสาเหตุ เช่น ขาดทุนทรัพย์ หรืออยู่ในบริบทที่จำกัดเขามากจนเกินไป”

เอ็มจึงเปลี่ยนความเสียดายมาเป็นประโยชน์ให้กับครูผู้นำฯ ในรุ่นถัดไป ผ่านการทำงานกับมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ต่อหลังจากจบโครงการฯ ในฐานะโค้ชของครูผู้นำฯ รุ่นใหม่ ในการทำงานกับชุมชนเชิงลึก

“ผมมองเห็นภาพการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบ ต้องเริ่มแก้ปัญหาจากพื้นที่ไหน จุดไหนที่ต้องโฟกัส”

ตลอดระยะเวลา 7 ปี เอ็มได้เป็นกำลังสำคัญให้กับทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ทั้งในฐานะครูผู้นำฯ และเจ้าหน้าที่ โดยปัจจุบันเอ็มคือ ‘หัวหน้าฝ่ายภูมิภาค (Regional Lead)’ เขาได้ใช้ความตั้งใจแน่วแน่และความเชื่อมั่นในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในการขับเคลื่อนการทำงาน

แต่สิ่งที่เป็นแรงขับเคลื่อนสูงสุดของเอ็ม คือการเห็นความเปลี่ยนแปลงในทุกๆ วัน

“เราเห็นเด็กที่เปลี่ยนแปลง เราเห็นครอบครัวที่ดีขึ้น เราเห็นคุณครูที่ยิ้มมากขึ้น เราเห็นโรงเรียนที่มันกลมเกลียวมากยิ่งขึ้น เราเห็นจำนวนคนที่พยายามขับเคลื่อนโครงสร้างมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ มันทำให้เรายังอยู่ที่นี่ในวันนี้” เอ็มทิ้งท้า

ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ มุ่งมั่นสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งต่อชีวิตนักเรียน ผ่านการทำงานกับนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนอย่างใกล้ชิด เราเชื่อว่า การส่งเสริมให้บุคลากรคุณภาพมาทำงานที่ยากที่สุด นั่นคือการสอน จะช่วยเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับการศึกษาไทยได้

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาไทย ผ่านการร่วมงานกับเราได้ ที่นี่ http://www.teachforthailand.org

สมัครโครงการ