ซึ่งหนึ่งในปัจจัยของความสำเร็จในการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม คือการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (stakeholders) ในทุกระดับ ทั้งในและนอกโรงเรียน
“ตอนเข้ามาในโรงเรียนแรกๆ ก็เริ่มจากการสร้างความสัมพันธ์ภายในโรงเรียนก่อน เวลามีงานอะไร เราไม่เคยปฏิเสธ หรืออาสาเข้าไปช่วยเสมอ ทำให้คุณครูเปิดใจกับพวกเรามากขึ้นและทำให้เขาพร้อมจะช่วยเรา” ต้องตาและปิ่นปัก สะท้อนถึงการเริ่มปฏิบัติงานในช่วงเทอมแรก
“ทุกเทอม พวกเราจะเข้าไปพูดคุยกับท่านผู้อำนวยการเพื่อนำข้อมูลหรือพฤติกรรมของนักเรียนไปเล่าให้เขา รวมถึงมีการปรึกษาและพูดคุยกับคุณครูในฝ่ายอื่นๆ อยู่เป็นประจำ”
“พอเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ เขาก็ไว้ใจให้เราทำงานที่ใหญ่ขึ้น”
สำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนอกโรงเรียน ต้องตาเล่าที่มาของการสร้างความสัมพันธ์ว่า
“ต้องตาได้มีโอกาสร่วมดูแลโครงการวิทยาศาสตร์ เลยได้พานักเรียนไปทำกิจกรรมร่วมกับ รพสต. ส่วนของ สภ. ลาดยาว มีการเข้ามาให้ความรู้กับนักเรียน เป็นจุดเชื่อมที่ทำให้เราได้ชวนเขา”
เมื่อพื้นฐานความสัมพันธ์กับทุกฝ่ายหนักแน่นและผู้บริหารโรงเรียนให้การสนับสนุน ต้องตาและปิ่นปักจึงสามารถจัดกิจกรรมสร้างวิสัยทัศน์ร่วมได้ โดยชวนสมาชิกสภานักเรียนเป็นตัวแทนนักเรียนในกิจกรรมครั้งนี้
“พวกเราได้ไปปรึกษาท่าน ผอ. กับรองผอ. ว่าอยากให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาของโรงเรียนเทพศาลาฯ ได้แลกเปลี่ยนเรื่องเป้าหมายของการศึกษา ว่าอยากให้เด็กที่จบจากที่นี่เป็นแบบไหน ซึ่งผู้บริหารก็ให้การสนับสนุน”
“นักเรียน เป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพชีวิตดี มีชุมชนร่วมส่งเสริมโอกาสภายใต้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน” คือข้อสรุปวิสัยทัศน์ร่วมจากกิจกรรมดังกล่าว
วิสัยทัศน์ร่วมได้ช่วยให้ทุกฝ่ายมีแนวทางการทำงานเพื่อสนับสนุนพัฒนาการของเยาวชนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมทักษะอาชีพ ซึ่งหน่วยงานที่เข้าร่วมกิจกรรมสร้างวิสัยทัศน์ร่วมได้สนับสนุนในการให้นักเรียนได้ไปฝึกประสบการณ์การทำงานที่โรงพยาบาลตำบล รพสต. สภ. ลาดยาว และปศุสัตว์ในชุมชนในเทอมที่ผ่านมา
เสียงสะท้อนจากนักเรียน ทำให้รู้ว่ามาถูกทาง “มีนักเรียนบอกว่า จากที่พวกหนูได้ฝึกประสบการณ์ก็ช่วยให้เห็นตัวเองมากขึ้น ตัดสินใจได้ว่าอยากทำงานในสายนั้นๆ ไหม เช่น บางคนได้ฝึกงานที่ รพสต. ก็เริ่มรู้ตัวเองว่าอยากทำงานในสายนี้จริงๆ”
ยิ่งไปกว่านั้น ต้องตาและปิ่นปักได้มีการพูดคุยกับผู้บริหารโรงเรียนถึงการยกระดับกิจกรรมนี้เป็นระเบียบโรงเรียน ซึ่งจะทำให้กิจกรรมฝึกประสบการณ์อาชีพนี้มีการดำเนินการต่อ แม้ครูผู้นำฯ ทั้งสองจะจบโครงการ 2 ปีไปแล้ว
“เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมากๆ ของอาชีพที่จะต่อยอดไปเป็นพลเมืองที่ดีของโลกได้” ต้องตาเล่าอย่างภูมิใจ
ท้ายที่สุด ต้องตาและปิ่นปักได้สะท้อนประสบการณ์การสร้างความเปลี่ยนแปลงไว้ว่า
“ไม่ว่าคุณจะเรียนจบจากที่ไหนหรือสาขาอะไร พื้นฐานของสิ่งที่คุณจบคือการศึกษา หากการศึกษายังมีปัญหา กว่าเด็กคนหนึ่งจะเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีก็เป็นไปได้ยาก”
“ดังนั้นถ้าเราอยากเปลี่ยนอะไร ต้องกล้าลงมือที่จะทำก่อน อยากให้ได้ลองมาทำเพื่อการศึกษาไทย ให้เด็กคนหนึ่งได้เห็นโอกาสโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่เขาอยากเป็น อย่ากลัวว่าจะทำไม่ได้ กลัวว่าจะไม่ได้ทำดีกว่าค่ะ”
การสร้างความสัมพันธ์ที่หนักแน่นของครูผู้นำฯ และการสนับสนุนจากทุกฝ่าย นำไปสู่การกำหนดทิศทางและการร่วมกันพัฒนาการศึกษาของเยาวชน ความสำเร็จที่โรงเรียนเทพศาลาประชาสรรค์ทำให้เราเห็นว่า แม้การเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปได้ยากแต่ก็สามารถทำได้
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการศึกษาไทยผ่านการเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่